','

Background

','

သမိုင္း

'); ?>
','

Role and Responsibility >>     

','

အခန်းကဏ္ဍနှင့်တာဝန်ဝတ္တရား >>     

'); ?>     
    หว้ากอ...ดินแดนแห่งนี้นับเป็นอนุสรณ์สถานที่ได้จารึกพระนาม คิงมงกุฎ ไว้ในหน้า ประวัติศาสตร์ให้โด่งดังปรากฏไปทั่วโลก และนำพระเกียรติยศเกียรติประวัติมาสู่ประเทศไทย นำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนชาวไทยตราบทุกวันนี้ โดยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เพื่อทรงพิสูจน์การคำนวณสถานที่และเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้องชัดเจน ซึ่งคำนวณล่วงหน้าไว้ถึง 2 ปีว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง จุลศักราช 1230 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2411
โดยเส้นศูนย์ของอุปราคา จะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ บ้านหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในพระราชอาณาจักรสยาม ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ตรงเส้นวิตถันดร (แลตติดจูต) 11 องศา 38 ลิปดาทิศเหนือ และเส้นทีรฆันดร (ลองติดจูต) 99 องศา 39 ลิปดาทิศตะวันออก โดยคราสเริ่มจับเวลา 10 นาฬิกา 4 นาที จับเต็มดวง เวลา 11 นาฬิกา 36 นาที 20 วินาที กินเวลานาน 6 นาที 45 วินาที คลายคราสออกเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที 45 วินาที ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการคำนวณจากประเทศตะวันตกมาก่อนหน้านี้

    ในระหว่างนั้นประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างก็เฝ้ารอวันพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ เมื่อใกล้ถึงวัน ทรงโปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาสร้างค่ายไว้ล่วงหน้า และพระองค์ได้ใช้ค่ายนี้เป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์กลางแจ้ง เพื่อเป็นที่ชุมนุมของ
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกและคณะฑูตานุทูตประเทศต่างๆ แล้วก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงตามที่พระองค์ทรงคำนวณ โดยไม่คลาดเคลื่อน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นทำให้พระเกียรติยศระบือไกล บรรดาแขกต่างประเทศจำนวนมากได้รับทราบถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่มีไม่แพ้ชาติใด ทั้งๆที่ยังขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พระเกียรติคุณในด้านวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับและปรากฏเด่นชัดแก่บรรดานักปราชญ์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก แต่ประชาชนชาวไทยก็ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพได้เพียง 5 วัน ก็ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตด้วยไข้มาเลเรีย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2411 นั่นเอง

   เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์และวันสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้น
ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามสถานที่แห่งนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536 ปัจจุบันสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" '; $text2 =' '; $text3 =' '; changelang($text1,$text2,$text3); ?>
   Waghor Village is the site of a memorial where the name King Mongkut, or King Rama IV, was recorded in history and became well-known worldwide, bringing honour and prestige to himself and Thailand, and this place has remained the pride of Thai people until today. This was the place King Mongkut visited by a royal boat, "the Akharatchworadetch" to prove the accuracy of his computation of the place and time of a total solar eclipse. The King had computed, 2 years before, that there would be a total solar eclipse on Tuesday in the ten lunar month, on the first waxing Moon night of the Year of the Dragon in the Chula Era 1230, corresponding to August 18th, 1868. The centre of the eclipse would appear in proximity to Waghor Village in Prachuab Khiri Khan Province in the Kingdom of Siam or on the eastern coast of the Malay Peninsula, at northern latitude 11 degrees and 38 minutes and eastern longitude 99 degrees and 39 minutes. The eclipse would start at 10.04 a.m., and it would become a full eclipse at 11.36.20 a.m., or the whole phenomenon would last for 6 minutes and 45 seconds. The eclipse would start to dissolve at 1.37.45 p.m. There is no evidence of a similar kind of computation from Western countries.

    At the time, Thai people and foreigners were waiting to prove the accuracy of the King\'s computation. When the day of the expected eclipse came near, the King had Chao Phraya Srisuriyavonge build a camp in advance. The King himself made use of this camp as his outdoor science laboratory and as a gathering place for scientists and foreign diplomats. His computation of the time of the eclipse turned out to be accurate and this made his name well known far and wide. Foreign guests were able to observe his talent in science despite the shortage of efficient scientific equipment. His contribution to the study of science was widely accepted by scientists and learned people far and wide. However, after this event, the Thai people had to face a great loss because 5 days after his return to Bangkok, the King became sick and died of malaria on October 1st, 1868.

   In memory of the King and this important historical event at Waghor, the Cabinet, on May 16th, 1989, approved a project to establish the King Mongkut Science Park at Waghor and on May 3rd, 1990, His Majesty King Bhumibol Adulyadej named this place, the "King Mongkut Science Park at Waghor, Prachuab Khiri Khan Province". On June 16th, 1993, the Ministry of Education announced the establishment of the Park as an educational institute as a way of honouring King Mongkut, "the Father of Thai Science". The institute is currently affiliated to the Office for the Promotion of Non-formal Education.
   ဝက္ခ္ဟာရြာသည္သမိုင္းဝင္ကမၻာကသိေအာင္ေက်ာ္ျကားေသာဘုရင္မြန္ခ္ကတ္ (ဘုရင္ရာမ၄)
၏အထိမ္းအမွတ္ေနရာျဖစ္သည္။ဘုရင္မြန္ခ္ကတ္သည္မိမိအတြက္သာမကထိုင္းနိုင္ငံအတြက္ပါဂုဏ္ေဆာ
င္ခဲ့ေသာေျကာင့္ဤရြာသည္ယေန့ထိတိုင္ထိုင္းလူမ်ိဴးမ်ားအတြက္ဂုဏ္ယူစရာျဖစ္သည္။ဘုရင္မြန္ခ္ကတ္သ
ည္ဤေနရာကိုေလွေတာ္အာခရတ္ေခ်ာင္ရဒတ္ခ်္နွင့္ျကြခ်ီလာ၍ေနျကတ္နိုင္သည့္အခ်ိန္နွင့္ေနရာမ်ားကိုတ
က္ခ်က္၍အတိအက်သက္ေသျပခဲ့ေလသည္။ဘုရင္သည္
"လ"နွစ္၏ကိုးလပိုင္းအဂၤါေန့၊ေခ်ာင္လာေခတ္၁၂၃၀ခု၊နဂါးနွစ္၏ပထမဆံုးလဆန္း
(ျသဂုတ္လ၁၈ရက္၊၁၈၆၈) တြင္ဤေနရာ၌ေနျကတ္မည္ဟု
(၂)နွစ္မတိုင္ခင္ကတြက္ခ်က္မိန့္ျကားခဲ့သည္။ေျမာက္လတ္တီက်ဳ၁၁ဒီဂရီ၃၈မိနစ္၊အေရွ့ေလာင္ဂ်ီက်ဳ၉၉ဒီဂ
ရီ၃၉မိနစ္၌ရွိေသာမေလးက်ြန္းဆြယ္အေရွ့ဘက္ကမ္းရိုးတန္း (သို့မဟုတ္)
စီရမ္နိုင္ငံ၏ပရာေခ်ာပ္ခီရီခန္းျပည္နယ္၊ဝက္ခ္ဟာရြာတြင္ေနျကတ္ျခင္းျဖစ္ေပၚမည္ဟုမိန့္ျကားခဲ့သည္။မန
က္၁၀နာရီ၄မိနစ္အခ်ိန္တြင္ေနျကတ္ျခင္းစတင္မည္ျဖစ္ျပီး၁၁နာရီ၃၆မိနစ္၂၀စက္ကန့္တြင္ေနအျပည့္ျကတ္
၍ေနျကတ္ျခင္းျဖစ္စဥ္တစ္ခုလံုးသည္၆မိနစ္၄၅စကၠန့္ျကာျမင့္လိမ့္ေပမည္။အဆိုပါေနျကတ္ျခင္းသည္ညေန
၁နာရီ၃၇မိနစ္၄၅စကၠန့္အခ်ိန္တြင္စတင္ေပ်ာက္ကြယ္သြားမည္ျဖစ္သည္။အေနာက္နိုင္ငံမ်ားမွဤကဲ့သို့တူညီ
ေသာတြက္ခ်က္မွူအေထာက္အထားမ်ားမရွိပါ။


   ထိုအခ်ိန္တြင္ထိုင္းလူမ်ိဴးမ်ားနွင့္နိုင္ငံျခားသားမ်ားသည္ဘုရင္ျကီး၏တြက္ခ်က္မွူတိက်မွန္ကန္ေျက
ာင္းသက္ေသျပရန္ေစာင့္ျကည့္ခဲ့ျကသည္။ေနျကတ္နိုင္မည့္ေန့ေရာက္လာခါနီးေသာအခါဘုရင္သည္ေခ်ာင
ဖရာယာသီရိစူရိယေဘာင္ခ်္အားစခန္းျကိုတင္ေဆာက္ခိုင္းေလသည္။ဘုရင္သည္ဤစခန္းအားသူ၏ျပင္ပသိ
ပၸံသုေတသနျပဳလုပ္ရန္နွင့္သိပၸံပညာရွင္မ်ားနွင့္နိုင္ငံျခားမွပညာရွင္မ်ားစုေဝးရာစခန္းအျဖစ္အသံုးျပဳခဲ့သည္။
ဘုရင္၏ေနျကတ္ျခင္းဆိုင္ရာတြက္ခ်က္မွူသည္တိက်မွန္ကန္ခဲ့ျပီးဤျဖစ္စဥ္ေျကာင့္နာမည္ပိုမိုေက်ာ္ျကားလ
ာခဲ့ေလသည္။သိပၸံပညာဆိုင္ရာအသံုးျပုေသာပစၥည္းကိရိယာမ်ားနည္းပါးေသာဘုရင္ျကီး၏သိပၸံပညာက်ြမ္း
က်င္မွူအားနိုင္ငံျခားသားဧည့္သည္ေတာ္မ်ားသည္မ်က္ျမင္ေတြ့ရွိခဲ့ေလသည္။သူ၏သိပၸံပညာရပ္ေလ့လာေဖ
ာ္ျပမွူမ်ားအားသိပၸံပညာရွင္မ်ားမွလက္ခံခဲ့ျကျပီးေနရာအႏွံအျပားမွလည္းေလ့လာဆည္းပူးခဲ့ျကသည္။သို့ေသ
ာ္ဤျဖစ္စဥ္ျပီးဆံုးေသာအခါထိုင္းလူမ်ဳိးမ်ားသည္ျကီးမားေသာဆံုးရွူံးမွူျကီးကိုရင္ဆိုင္ခဲ့ရေလသည္။အေျကာ
င္းမွာဘုရင္ျကီးသည္ဘန္ေကာက္သို့ျပန္ေရာက္ျပီး၅ရက္အျကာေအာက္တိုဘာလ၁ရက္ေန့၁၈၆၈ခုတြင္ငွက္
ဖ်ားေရာဂါျဖစ္၍နာမက်န္းကာနတ္ရြာစံေလသည္။


အေရးျကီးေသာထိုသမိုင္းဝင္ျဖစ္စဥ္ႏွင့္ဘုရင္ျကီးအားအမွတ္တရအထိမ္းအမွတ္အျဖစ္ေမလ၁၆ရက္၁၉၈၉
ခုနွစ္တြင္ဝက္ခ္ဟာ၌ဘုရင္မြန္ခ္ကတ္သိပၸံဥယ်ာဥ္စတင္တည္ေထာင္ရန္ဝန္ျကီးမ်ားအဖြဲ့မွအတည္ျပဳခဲ့ျကျပီး
ေမလ၃ရက္ေန့၁၉၉၀တြင္ဘုရင္မင္းျမတ္ဘူမိေပါအဒူယာဒတ္ခ်္မ
"ပရာေခ်ာပ္ခီရီခန္းျပည္နယ္၊ဝက္ခ္ဟာမွဘုရင္မြန္ခ္ကတ္သိပၸံဥယ်ာဥ္"
ဟုအမည္ေပးခဲ့သည္။ဘုရင္မြန္ခ္ကတ္(
ထိုင္းသိပၸံပညာ၏ဖခင္)အားဂုဏ္ျပဳေသာအားျဖင့္ထိုဥယ်ာဥ္အားပညာေရးဌာနတစ္ခုအျဖစ္အေကာင္အထ
ည္ေဖာ္ရန္ဇြန္လ၁၆ရက္ေန့၁၉၉၃ခုနွစ္တြင္ပညာေရးဝန္ျကီးမွေျကညာခဲ့သည္။