คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน (ต่อ)

 
5. การดูแลรักษาเมาส์ (Mouse)

การดูแลรักษาเมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ Input ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเมาส์ จะประกอบไปด้วยลูกกลิ้งและฟันเฟือง ซึ่งสามารถถอดออกและทำความสะอาด เนื่องจากลูกกลิ้งจะสะสมเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไว้ภายในเมาส์ ทำให้ลูกกลิ้งไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้โดยอิสระ วิธีทำความสะอาดให้บิดช่องข้างล่างของเมาส์บริเวณที่เป็นลูกกลิ้ง พอถอดออกแล้วก็นำลูกกลิ้งข้างในออกมา และเราจะเห็นแกนอยู่ 2 แกนที่สามารถหมุนได้และแกนวงกลม ที่สามารถหมุนได้เช่นกัน ใช้เล็บหรือไขควงก็ได้แล้วแต่ถนัด ขูดพวกฝุ่นที่เกาะกันเป็นก้อนออกมา เท่านี้เมาส์ของคุณก็จะไหลรวดเร็วดังใจนึก สำหรับอุปกรณ์เมาส์แสง หรือ Optical Mouse ภายในเมาส์ประกอบด้วยเซ็นเซอร์แสง ซึ่งมักจะทำงานผิดปกติเมื่อมีฝุ่นผง สามารถทำความสะอาดโดยอุปกรณ์เป่าฝุ่น

6. การดูแลรักษาแป้นพิมพ์

การดูแลรักษาแป้นพิมพ์ (Keyboard) การป้อนข้อมูลจำนวนมากทุกวัน หรือเอาแป้นพิมพ์ไปใช้เล่นเกมส์ จะพบว่าปุ่มบางปุ่มจะเสียตั้งแต่ยังไม่ครบปี อายุการใช้งานของแป้นพิมพ์จะผ่านปีแรกและปีที่สองไปได้ อย่างสบาย แต่ถ้าแป้นพิมพ์เกิดเสียหลังจากปีแรก ซึ่งเลยระยะรับประกันแล้ว ไม่ควรซ่อม ให้ซื้อใหม่จะดีกว่า นอกจากนี้ยังมีแป้นพิมพ์ที่มีราคาแพงเกินหนึ่งพันบาทขึ้นไป เช่น ไมโครซอฟต์คีย์บอร์ด หรือคีย์บอร์ดของไอบีเอ็ม แป้นพิมพ์เหล่านี้จะมีรูปทรงถูกสุขลักษณะไม่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยข้อมือมีความทนทานสูงและตอบสนองต่อการกดแป้นพิมพ์จะดีกว่าแป้นพิมพ์ราคาถูก

7. การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)  ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
              7.1 การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
              7.2 ควรเลือกใช้โต๊ะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้
              7.3 ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Harddisk ด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Harddisk ที่ใช้งานไม่ได้

8.  การดูแลรักษาซีดีรอมไดร์ฟ

การดูแลรักษาซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบมัลติมีเดีย หรือเป็นสื่อผสม ซึ่งจะต้องใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาพและเสียง ดังนั้น แผ่นซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีแผ่นซีดีรอมเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีเครื่องผ่านแผ่นซีดีรอมที่เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำแผ่นซีดี ที่เสียแล้ว หรือมีรอยขีดข่วนมากๆ มาอ่าน เพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ รวมถึงการใช้น้ำยาล้างหัวอ่านผิดประเภทด้วย  ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอก โดยอาจใช้พู่กันเล็กๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ ข้อควรระวัง! โดยปกติน้ำยาเหล่านี้ ห้ามเช็คหน้าจอ ถ้ามีฝุ่นหรือคราบนิ้วมือ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็เพียงพอแล้ว

9. การดูแลรักษาพัดลมระบายความร้อน

การดูแลรักษาพัดลมระบายความร้อน (Fan) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เนื่องจากการทำงานของวงจรภายในคอมพิวเตอร์จะเกิดความร้อนจำนวนมาก ระบบระบายความร้อนหลักของคอมพิวเตอร์จะใช้พัดลมระบายความร้อนเป็นหลัก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบภายในประเทศ มักจะใช้พัดลมระบายความร้อนที่มีราคาถูก และจะพบว่าส่วนใหญ่พัดลมจะเสียภายในเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น มีอยู่น้อยมากที่จะผ่านปีแรกไปได้โดยไม่เสีย พัดลมระบายความร้อนที่ใช้งานได้ดี ก็คงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  รุ่นเพนเทียมรุ่นที่มีพัดลมติดมาด้วย การเลือกใช้พัดลมระบายความร้อนต้องพยายามใช้ของดีมียี่ห้อ เพราะถ้าพัดลมระบายความร้อนเสีย จะทำให้ซีพียูร้อนจัด ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงก์ (Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ และทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลง ถ้าพัดลมระบายความร้อนเสียต้องเปลี่ยนอย่างเดียว

 
หน้าที่ 1 | 2 | 3
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์