Hardware และการทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย หรือที่เราเรียกว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น หน่วยรับข้อมูล (Input), หน่วยแสดงข้อมูล (Output), หน่วยประมวลผล (Processing Unit), หน่วยความจำ (Memory Unit/Storage Unit) และอุปกรณ์อื่นๆ อุปกรณ์รับเข้า (Input Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้ประมวลผล ได้แก่
อุปกรณ์ส่งออก (Output Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากการประมวลผลของ ได้แก่

หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งเพื่อรอเรียกไปใช้งานโดยหน่วยประมวลผลภายในหน่วยความจำจะต้องมีไบต์ที่บอกตำแหน่งของการเก็บข้อมูล เรียกว่า ที่อยู่ หรือ Address ซึ่งจะซ้ำกันไม่ได้

ประเภทของหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์
การแบ่งประ​เภทหน่วยความจำหลัก​ ​ถ้าแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล​ ​จะแบ่งได้ดังนี้
1. Nonvolatile Memory คือ หน่วยความจำที่ข้อมูลไม่ถูกลบหรือหายไปเมื่อปิดเครื่องหรือไม่มีไฟเลี้ยง เป็นหน่วยความจำถาวร  เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า รอม  (Read Only Memory : ROM) หน่วยความจำประเภทนี้ซีพียูจะอ่านได้อย่างเดียว​ ​ไม่สามารถเขียนลงไปได้ เช่น BIOS
2. Volatile Memory คือ หน่วยความจำที่ข้อมูลจะถูกลบหรือหายไปเมื่อปิดเครื่องหรือไม่มีไฟเลี้ยง เป็นหน่วยความจำชั่วคราว เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory : RAM)
ตัวประมวลผล หรือ ตัวประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผล (Processor) โปรเซสเซอร์ หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ หรือเรียกกันย่อๆว่า ซีพียู  (Central Processing Unit : CPU)  เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ถือเป็นหัวใจหลักของคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรเซสเซอร์จะทำหน้าประมวลผลคำสั่งพื้นฐานที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผล จะประกอบด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit) และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic Logic Unit: ALU) สองส่วนนี้จะทำงานร่วมกัน
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์