.. ........................................................................................................................... Wednesday, November 28, 2012 11:37 AM
























 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



 

 

 

 

 

 


 

   ชีวิตของนก    

นกมีรูปร่างลักษณะขนาดเล็ก ความยาวจากปลายปากจดหาง 15 ซม. ชนิดย่อยที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ P.P.angelorum นกตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์ กระหม่อมมีกระจุกขนคล้ายหงอนสั้นๆ สีเหลืองอ่อนๆ อก และท้อง สีน้ำตาลอมขาว หรือสีเนื้อ มีลายขีดสีเข้มจางๆ เล็กน้อย คอค่อนข้างขาว ขนคลุมหลังมีพื้นสีน้ำตาลอมขาว หรือสีเนื้อ มีลายเป็นขีดตามแนวลำตัวสี เหลืองปนดำกระจาย คล้ายลายบนหลังของนกกระจอกบ้าน ปากอ้วนสั้นเป็นรูปกรวย แต่จะบางกว่าปากของนกกระจาบทอง ปีกสั้น หางสั้น ปลายปีกมน ลำตัวด้านล่างสีจางกว่าลำตัวด้านบน ในฤดูผสมพันธุ์ นกตัวผู้จะมีกระหม่อมสีเหลืองสด หน้าด้านข้างมีลายขีดสีดำ เห็นชัดกว่านอกฤดูผสมพันธุ์ นกตัวเมียนอกฤดูผสมพันธุ์ สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอมขาว หรือสีเนื้อคล้ายนกกระจาบอกลาย เพียงแต่ลายที่ท้องจะจางมาก ในฤดูผสมพันธุ์นกตัวเมียจะมีสีของลำตัวเข้มขึ้น ลายขีดที่หลัง และปีกจะเข้มชัด ขีดที่ท้องจะเข้ม มากขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ยังไม่มากเหมือนนกกระจาบอกลาย คอสีขาวตัดกับอก และท้องชัดเจน นกที่ยังไม่เต็มวัย สีของลำตัว จะคล้ายนกตัวเมียเต็มวัย แต่อก และสีข้างจะมีสีค่อนข้างคล้ำกว่าลายขีดบนกระหม่อม และบนหลังยังเลือนๆ ไม่เข้มชัด และ ขีดจะค่อนข้างห่างกว่าของนกตัวเมียเต็มวัย คอสีขาว ปากสีอ่อน นิสัยประจำพันธุ์เป็นนกสังคม คือ จะอยู่กันเป็นฝูงขนาดใหญ่ หากินโดยบินไปพร้อมๆ กันไม่มีจ่าฝูงคอยนำ

      แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากถูกนกทำลายลงไปมาก จึงอาจพบเพียงไม่กี่ตัว หรือเป็นฝูงขนาดเล็ก 10 - 15 ตัว หากินตามป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า นาข้าว ลงหากิน และบินขึ้นพร้อมกัน บินได้ดีแต่ไม่สูงมาก และสามารถบินหาอาหารได้เป็นระยะทางไกลๆ เมื่อถึงฤดูทำรัง   นกจากที่ต่างๆ จะมารวมฝูงกันเป็นฝูงใหญ่ ทำรังบนต้นไม้ต้นเดียวกัน หรือบริเวณที่ใกล้เคียงกัน แหล่งหากินมักอยู่ใกล้น้ำ หรือเป็นที่ชื้นแฉะ หรือมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ๆ พักนอนตามกอหญ้า กอกก ดงต้นธูปฤษี หรือในพุ่มไม้เตี้ย ๆ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว จะพบลงหากินเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นตามพื้นนา แต่ก็จะเกาะจิกกินตั้งแต่ต้นข้าวเริ่มสุก ในอดีตที่มีเป็นฝูงใหญ่ สร้างความเสียหายให้ชาวนาบ้าง เนื่องจากทำให้เมล็ดข้าวหล่นจากรวงก่อนจะเก็บเกี่ยว แต่ก็ไม่มากจนถึงกับทำลายพืชผลจำนวนมากเหมือนการระบาดของแมลงศัตรูข้าว แหล่งอาศัยหากินมักพบตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า ทุ่งโล่ง นาข้าว ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1,220 เมตร แต่ส่วนมากจะพบอาศัยอยู่ตามพื้นราบมากกว่า นกที่อยู่ในพื้นที่สูงก็จะอาศัยอยู่บริเวณที่เป็นทุ่งโล่ง ทุ่งหญ้า บนพื้นที่สูงเหล่านั้นอาหารได้แก่ เมล็ดธัญพืชต่างๆ รวมทั้งเมล็ดข้าวเปลือก โดยเกาะจิกกินที่รวงข้าว หรือลงกินที่พื้นเมื่อหลังฤดูเก็บเกี่ยว หนอนแมลงที่พบในกอหญ้า กอวัชพืช รวมทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชของชาวนา เช่น เพลี้ย เป็นต้น

      ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ถ้าอาหารอุดมสมบูรณ์พอ นกกระจาบธรรมดาจะทำรังวางไข่ตลอดปี แต่ช่วงที่ทำรังมากที่สุดอยู่ระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง มิถุนายน หรือช่วงต้นฤดูฝนของภูมิประเทศที่มันอาศัยอยู่ ปกติจะทำรังวางไข่ อยู่บนต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันเป็นฝูงใหญ่วางไข่ครอกละ 2 - 5 ฟอง เปลือกไข่สีขาว ขนาดของไข่ 21.6 X 14.7 มม. มักสร้างรังเป็นรูปกระเปาะ ที่มีขั้วรังยาว และปล่องเข้าออกจากรังอยู่ด้านล่าง ทำรังบนปลายกิ่งของ ต้นไม้ใหญ่ หรือกอไผ่ สูงจากพื้นประมาณ 30 เมตร หรืออาจต่ำกว่านี้ รังมักอยู่บนต้นไม้ที่มีน้ำล้อมรอบ หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ พฤติกรรมการสร้างรังของนกกระจาบธรรมดา นกกระจาบธรรมดาจะเริ่มสร้างรังด้วยวิธีการอันน่าพิศวง เริ่มต้นด้วยการเสาะหา พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ต้นข้าว ต้นอ้อย จากนั้นมันจะใช้จะงอยปากจิกใบพืช แล้วกระดกหัวให้ใบข้าวนั้นขาดเป็นริ้วไปตามความยาวจนถึงปลายของใบ แต่ก็จะไม่ให้ขาดไปเสียทีเดียวมันจะจิกริ้วใหม่แล้วดึงขึ้นไปแบบเดิมอีก จนได้สัก 3 - 4 ริ้ว แล้วจึงคาบใบไม้กลับไปทีละเส้น ขั้นตอนแรกของการสร้างรังนับว่าเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควรทีเดียว จะเปรียบไปก็เหมือนการลงเสาเข็มนั่นเอง ถ้ากระทำอย่างไม่รอบคอบ ไม่ระมัดระวังแล้ว ก็จะทำให้รังที่จะสร้างต่อไปขาดตกลงมาได้ เมื่อนกระจาบธรรมดาคาบใบหญ้ากลับมายังตำแหน่งที่จะสร้างรังแล้ว มันจะวางใบไม้ทาบลงกับกิ่งไม้ แล้วใช้ตีนเหยียบไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง จากนั้นใช้จะงอยปากคาบที่ปลายอีกด้านหนึ่งนำมาพันรอบกิ่งไม้ หลายๆ รอบ แล้วนำปลายที่ใช้ตีนเหยียบไว้มาสอดเข้าไปในห่วงที่พันรอบกิ่งไม้นั้นดึงให้แน่น โดยใช้จะงอยปากมันจะใช้ใบหญ้ามาพันเช่นนี้ หลายครั้ง จนมั่นใจว่ามีความมั่นคงเพียงพอ ต่อจากนั้นจึงสานต่อเป็นรูปวงแหวนขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นโครงร่างของรัง แล้วสานต่อ จนกระทั่งมีรูปร่างคล้ายหมวกทรงสูง แต่จะมีด้านหนึ่งป่องออกมามากว่าด้านหนึ่ง ซึ่งจะใช้เป็นที่สำหรับวางไข่ และเลี้ยงลูกนก

ห่วงโซ่อาหาร