ICT : etraining
 

home I วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน I ดาราศาสตร์และอวกาศ I ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม I

elearning

ดาราศาสตร์และอวกาศ

ฐานฟากฟ้า ณ หว้ากอ

ฐานมนุษย์กับดวงดาว

ฐานพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์

ฐานความเป็นไปในจักรวาล

ฐานเทคโนโลยีอวกาศและเอกภพ

 

 

 

 

   
   

กลุ่มการเรียนรู้ : ดาราศาสตร์และอวกาศ

ความเป็นไปในจักรวาล

 



ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

วิวัฒนาการและวัฏจักรของดาวฤกษ์

ห้องจำลองบรรยากาศดาวอังคาร

ระบบสุริยะจักรวาล

ดาวอังคาร
    ดาวสีแดง  มีธาตุเหล็กสูง  แกนในเป็นโลหะ , เหล็ก , กำมะถัน  พื้นผิวเป็นดิน หินแข็งคล้ายโลก  มีการทับถมของซากตะกอน  บอกร่องรอยการเคยเป็นทะเลสาบหรือมหาสมุทร  มีร่องทางยาวคดเคี้ยว  อาจเกิดจากธารน้ำแข็งคล้ายโลก 
มีดวงจันทร์สองดวง  คือ  โพมอส กับ ไดมอส  โคจรรอบดวงอาทิตย์  687 วัน , หมุนรอบตัวเอง 24.37 วัน , ห่างจากดวงอาทิตย์ 230 ล้านกิโลเมตร

ดาวพฤหัสบดี
   สามารถจุโลกได้ 1,400 ดวง  จุดแดงเป็นพายุหมุนใหญ่กว่าโลก 3 เท่า  บรรยากาศปั่นป่วนด้วยกระแสลมพายุหมุน  ฟ้าแลบ , ฟ้าร้อง , กลุ่มเมฆ  แกนในเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมในสภาพของแข็ง

ดาวเสาร์
   เป็นดาวเคราะห์ที่มีวงแหวน มองเห็นด้วยตาเปล่า  ความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำในทะเลสาบสามารถลอยน้ำได้  แกนในเป็นหินห่อหุ้มด้วยชั้นไฮโดรเจน  มีวงแหวนประกอบด้วยก้อนหินและน้ำขนาดต่าง ๆ ปี 2548  ค้นพบดาวบริวาล 33 ดวง  มีบริวาลใหญ่สุดชื่อ ไททัน และมีบริวาลที่พื้นผิวครึ่งหนึ่งปกคลุมด้วยหิมะชื่อ ไอเอปตัส  โคจรรอบดวงอาทิตย์  29.5 ปี , หมุนรอบตัวเอง 10.34 ชั่วโมง , ห่างจากดวงอาทิตย์ 1,430 ล้านกิโลเมตร 

ยูเรนัส
   แกนในเป็นเหล็กและหินแข็งขนาดเล็ก  บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีเทน  แอมโมเนีย และน้ำแข็ง 
วงแหวน 10 ชั้น  มีดาวบริวาล 21 ดวง และอาจจะพบเพิ่มขึ้นอีก  โคจรรอบดวงอาทิตย์ 84 ปี และหมุนรอบตัวเอง  17 ชั่วโมง  14 นาที  ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 2,900  ล้านกิโลเมตร

เนปจูน
   มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  เป็นดาวเคราะห์ก๊าซสามารถจุโลกได้ 60 ดวง  ก๊าซมีเทนในบรรยากาศดูดซับแสงสีแดง  จึงมองเห็นดาวเนปจูนมีสีน้ำเงินเขียว  แกนในเป็นแกนหินขนาดเท่าโลก  บรรยากาศห่อหุ้มด้วยไฮโดรเจน ฮีเลียม แอมโมเนีย และมีเทน  คล้ายดาวยูเรนัสจุดดำใหญ่เป็นพายุหมุนเท่าโลก  โคจรรอบดวงอาทิตย์  165 ปี , หมุนรอบตัวเอง  16 ชั่วโมง , ห่างจากดวงอาทิตย์ 4,500 ล้านกิโลเมตร

 

หน้าที่ 1 | 2

 

 
north education e-learning network

พัฒนาโดย อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
science e-learning network Copyright 2012© Last updated November, 2012